ข่าวโควิด19 เผยผลการทดลอง หลังจากที่มีข้อเสนอแนะจากแพทย์ ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงวิธีการฉีดวัคซีน โดยการฉีดเข้ากล้าม เข้าชั้นผิวหนัง โดยจะลดการปริมาณของวัคซีนลง ซึ่งจะทำให้คนไทยมีโอกาสในการฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้น
ผู้ช่วยเลขาฯ แพทยสภา เผยผลการทดลอง ฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ เข็มที่ 3
ล่าสุด ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา ได้มีการโพสต์ไปยังเพจเฟซบุ๊ก Methee Wong ถึงผลทดลองฉีดแอสตร้าฯ เป็นบูสเตอร์โดส กับตัวเอง โดยการใช้วิธีฉีดเข้าชั้นผิวหนัง พบอาการข้างเคียงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากใช้ปริมาณวัคซีนน้อยกว่าฉีดเข้ากล้ามถึง 5 เท่า ภูมิต้านทานเพิ่มเป็น 99% จากก่อนฉีดอยู่ที่ 47% ซึ่งเป็นโอกาสที่รัฐบาล จะมีวัคซีนสำหรับบูสเตอร์ เพิ่มขึ้น 5 เท่าทันที โดยได้ระบุข้อความว่า
SV+SV + “AZ 0.1 ID”
PROBLEM
m-RNA ใหม่มาก แถมยังไม่รู้ว่า long termจะมีผลอะไรหรือไม่
Astra แม้จะไม่ใหม่มาก แต่ก็ไม่นานพอแบบ วัคซีนเชื้อตายที่ทราบว่าปลอดภัยมาก ที่สำคัญเห็นหลายคนต้องลาป่วย 2-3 วันล่วงหน้าก่อนฉีด เพราะบางคนไข้ขึ้นสูง ปวดเมื่อยหนาวสั่น ต้องหยุดงานหลังฉีด
Sinovac ปลอดภัยที่สุด แต่evidence basedปัจจุบัน คือรองรับ deltaไม่ได้
Evidence basedจาการทำงานจริงล่าสุดคือ ฉีดvaccineไม่ว่ายี่ห้ออะไรก็ตาม อาจติดเชื้อได้ แต่ยังไม่เห็นใครที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์แล้วป่วยหนัก เสียอย่างเดียวคือ ต้องหยุดงานรักษาตัวและกักตัว และอาจส่งผ่านเชื้อให้คนอื่นได้
ANSWER
ทางออกแบบครึ่งทาง ฉีดastra boostเข็มสาม
แต่ แทนที่จะฉีด astra 0.5 ml IM ก็เปลี่ยนเป็น 0.1 ml ID อย่างน้อยก็ลดสิ่งแปลกปลอมที่ะเข้าร่างกายลงได้ 5 เท่า
ทำใจไว้ล่วงหน้าว่า หากภูมิไม่ขึ้นก็ค่อยไปฉีดแบบเข้ากล้าม หรือไปฉีดพวก m-RNA เลย
หมายเหตุ
IM (ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ) ปลายเข็มฝังลึกเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อ
ID (ฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง) ปลายเข็มฝังตื้น ๆที่ผิวหนังชั้นนอกลึกไม่เกิน2-3 มม. (คล้าย ๆ เข็มสะกิด) วิธีนี้มีใช้กันมานานแล้ว แต่ฉีดยากกว่าการฉีดเข้ากล้าม เพราะต้องปักเข็มตื้นมาก ๆ แต่ข้อดีคือแทบไม่มีความรู้สึกเจ็บเลย มักใช้กับการทดสอบภูมิแพ้ หรือวัณโรค เหตุที่แทบไม่รู้สึกเจ็บเลย เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้าม เพราะ
- เข็มที่ใช้จะขนาดเล็กกว่ามาก ปลายเข็มจะมีขนาดประมาณ 0.1 มม.
- ปักเข็มตื้นมากไม่เกิน 1-2 มม.
- ความที่เข็มเล็กและปักตื้นทำให้ปริมาณที่ใช้จะน้อยกว่ามาก..ผลคือยิ่งแทบไม่รู้สึกเจ็บขณะเดินยา
ส่วนเหตุที่ผลข้างเคียงหลังฉีดน้อยกว่ามากเพราะ
- ยาจะดูดซึมช้ามากที่สุดเมื่อเทียบกับการฉีดวิธีอื่น (ฉีดเข้าเส้นเลือด ฉีดใต้ผิวหนัง ฉีดในกล้ามเนื้อ) จึงทำให้ยาค่อย ๆ ซึมเข้าร่างกายอย่างช้า ๆ
- ปริมาณยาใช้น้อยกว่าวิธีอื่นมาก
- ด้วยเหตุดังกล่าว หากเกิดการแพ้วัคซีน คนไข้จะค่อย ๆ มีอาการเพราะยาดูดซึมช้ามาก แพทย์มีเวลาเหลือเฟือในการรับมือ
RESULT
วันแรกหลังฉีดปกติดี ไม่นับมีปุ่มนูนแดงที่ไหล่ อันเป็นผลจากการฉีด ID
วันรุ่งขึ้นเช้า ปวดเมื่อยคล้ายนอนหลับไม่สนิท บ่ายตัวรุม ๆ ตกเย็นปกติ
ผล neutralizing Ab (NTAb ภูมิต้านทานในเชิงคุณภาพ) ก่อนฉีด 47% (โอกาสที่ร่างกายจะกำจัดโควิดเมื่อหลุดรอดเข้าไปในตัวเรา อยู่ที 47%)
หลังได้ 3rd Boosterเป็น AZ 0.1 ID 2 สัปดาห์ 99% (ร่างกายมีความสามารถกำจัดไวรัสได้ 99% พูดง่าย ๆคือ โอกาสติดเชื้อและป่วยแสดงอาการน้อยกว่า 1% ซึ่งรวมถึงโอกาสการเป็นพาหะก็ลดลงด้วย)
ปล. ส่วนการตรวจแบบเชิงปริมาณ ที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่ทำกันอยู่นั้น (ซึ่งบอกแต่ปริมาณ แต่อาจไม่ได้ผลจริงในการป้องกันตามตัวเลขที่สูง) คงไม่ต้องไปทำอีก เพราะ NTAb มีความน่าเชื่อถือกว่าอยู่แล้ว
เท่าที่ทราบหลายคนที่ฉีดวิธีนี้ ภูมิปกป้อง (Neurtralizing) สูงมากทุกคน
อาการข้างเคียงหลังฉีดน้อยมาก
ถ้าผลวิจัยเป็นทางการออกมา Thiravat Hemachudha Kate Sripratak ( also special thanks to research team ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha Kate Sripratak ) รัฐจะมีวัคซีนสำหรับboosterเพิ่มขึ้น ๕ เท่าทันทีแถมไม่ต้องง้อm-RNAอีกต่างหาก เพราะAZ ผลิตได้ในบ้านเราแล้ว และน่าจะยืดระยะเวลาความเสี่ยงจากการได้รับวัคซีน m-RNA vaccine ได้อีกระยะ จนกว่าจะมั่นใจเรื่อง long term sequelae ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นปี
การฉีดนี้เป็นการฉีดโดยสมัครใจ
ต่อจากนี้ก็รอดูว่า ร่าง God+Ultra Instinct จะอยู่นานแค่ไหน และจะสู้กับ Frieza ในร่างGod หรือร่างที่จะกลายพันธ์ต่อไปอีกได้หรือไม่
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์