Wednesday, 1 May 2024

ศาลสั่งห้าม ประยุทธ์ ใช้ข้อกำหนดฯคุมสื่อ ตัดอินเทอร์เน็ต จนกว่าคำสั่งเปลี่ยนแปลง

ข่าวการเมือง เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 เวลาประมาณ 13.30 น. บริเวณศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ศาลได้มีการนัดฟังคำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราว คดีหมายเลขดำ พ.3618/2564 ที่ภาคีนักกฎหมาย สื่อมวลชนออนไลน์ 12 รายได้ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีรวมถึงรมว.กลาโหม โดยให้ถอนคำสั่งการ ออกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ข้อกำหนดที่ 29 ในการให้อำนาจ กสทช. ตัดอินเทอร์เน็ต และดำเนินคดีกับสื่อออนไลน์ ในกรณีเฟกนิวส์

สล็อต xo Slotxo

ศาลสั่งห้าม นายกฯ ใช้ข้อกำหนดออกตาม พรก.ฉุกเฉิน มาตรา 9

ข่าวการเมือง ตัดอินเทอร์เน็ต
น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งสื่อออนไลน์ The Reporters ฐานะของผู้ร้อง พร้อมทั้งตัวแทนจากสื่อสำนักต่างๆ ได้กล่าวว่า หลังจากที่ได้ส่งคำร้องเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ศาลได้ทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องและของคู่กรณี ก่อนจะมีการนัดหมายให้มาฟังคำสั่งวันนี้ ซึ่งได้มองว่าประกาศที่ออกมานั้นเป็นการลิดรอนสิทธิประชาชน และสื่อให้การนำเสนอข่าวสาร โดยเฉพาะในขณะที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 ประชาชนควรที่จะได้รับรู้เรื่องราวดังกล่าว ซึ่งการรายงานข่าวสารจากความเป็นจริงในสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงสื่อมวลชนพร้อมด้วยสื่อต่างๆ ยังเป็นกลางในการที่จะเผยแพร่ข้อมูล การขอความช่วยเหลือ และความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน

น.ส.ฐปณีย์ ยังกล่าวอีกว่า ตนมีความคาดหวังว่าพยานหลักฐานต่างๆ ที่ผู้ร้องได้ทำการเสนอให้ศาลพิจารณานั้น จะทำให้ศาลระงับคำสั่งดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง หรือต้องมีการระบุรายละเอียดให้ชัดเจน แต่ถ้าหากศาลพิจารณาออกมาในทางกลับกัน ตนก็พร้อมที่จะยอมรับ โดยคดีนี้จะเป็นบรรทัดฐานให้กับผู้นำ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ พร้อมทั้งหน่วยงานของรัฐบาล ซึ่งต้องมีการระมัดระวังในการใช้คำสั่งหรืออำนาจต่างๆ ที่อาจจะเป็นการละเมิดสิทธิของสื่อมวลชนและประชาชน ที่เกินกว่าเหตุจนอาจจะทำให้ได้รับผลกระทบ

ได้มีตัวแทนสถานเอกอัครราชทูตจากต่างประเทศ โดยได้มีการมาเข้ารวมสังเกตการณ์ฟังคำสั่งขอคุ้มครองในครั้งนี้ด้วย ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างรออ่านคำสั่ง

ต่อมา เวลาประมาณ 14.20 น. ศาลได้นั่งพิจารณาและทำการไต่สวนพยานหลักฐาน ซึ่งมีคำสั่ง โดยสรุปใจความได้ว่า

ศาลสั่งห้าม ประยุทธ์ ใช้ข้อกำหนดฯคุมสื่อ ตัดอินเทอร์เน็ต จนกว่าคำสั่งเปลี่ยนแปลง
ข้อ 1 ที่ห้ามเผยแพร่ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวมิได้ จำกัด เฉพาะข้อความอันเป็นเท็จดังเหตุผลและความจำเป็นตามที่ระบุไว้ในการออกข้อกำหนดดังกล่าวย่อมเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของโจทก์ทั้งสิบสองและประชาชน ที่รัฐธรรมนูญ 2560 บัญญัติคุ้มครองไว้ ทั้งยังไม่ต้องด้วยข้อกำหนดฯ ที่ระบุว่าจำเป็นต้องมีมาตรการกำหนดให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกเป็นไปอย่างมีเหตุผลถูกต้องตามข้อเท็จจริงตามกรอบที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวตามข้อกำหนดข้อดังกล่าวนั้น มีลักษณะไม่แน่ชัดและขอบเขตกว้าง ทำให้โจทก์ทั้งสิบสอง ประชาชนและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนไม่มั่นใจในการแสดงความคิดเห็น และสื่อสารตามเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 34 วรรคหนึ่ง และมาตรา 35 วรรคหนึ่ง บัญญัติคุ้มครองไว้

นอกจากนี้ยังเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ ไม่ต้องด้วยมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญ ทั้งข้อกำหนดดังกล่าวก็ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่โจทก์ทั้งสิบสอง หรือประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ ตามความในมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2558

ศาลสั่งห้าม นายกฯ ใช้ข้อกำหนดออกตาม พรก.ฉุกเฉิน มาตรา 9
ข้อ 2 ที่ให้อำนาจระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่เลขที่อยู่ ไอพี (IP address) ที่มีการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารในอินเทอร์เน็ตที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดฯ ไม่ปรากฏว่ามาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดให้ดำเนินการระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ต จึงเป็นข้อกำหนดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease: COVID-19) และรัฐสั่งปิดพื้นที่หรือล็อกดาวน์ จำกัด การเดินทางหรือการพบปะระหว่างบุคคล ทั้งข้อกำหนดข้อดังกล่าวมิได้จำกัดเฉพาะการระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับการกระทำครั้งที่เป็นเหตุแห่งการระงับให้บริการอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่ยังระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตในอนาคตด้วย ปิดกั้นการสื่อสารของบุคคลและเป็นการปิดกั้นสุจริตชนผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารดังกล่าว ไม่ต้องด้วยมาตรา 36 วรรคหนึ่งแห่งรัฐธรรมนูญฯ การให้ข้อกำหนดทั้งสองข้อดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปอาจทำให้เกิดความเสียหายที่ยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลังได้

กรณีมีเหตุจำเป็นเห็นเป็นการยุติธรรมและสมควรในการนำวิธีชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ เพื่อเป็นการระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดทั้งสองข้อดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254(2) มาตรา 255(2) (ง) ประกอบมาตรา267วรรคหนึ่ง และการระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดดังกล่าวไม่น่าเป็นอุปสรรคแก่การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐหรือแก่ประโยชน์สาธารณะ เพราะยังมีมาตรการทางกฎหมายหลายฉบับให้สามารถดำเนินการเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ อีกทั้งรัฐสามารถใช้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ในการกำกับเป็นเครื่องมือในการให้ความรู้ เพื่อการรู้เท่าทันสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนแก่ประชาชนได้ด้วย

จึงมีคำสั่ง ห้ามจำเลยดำเนินการบังคับใช้ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558(ฉบับที่29) เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

การให้อำนวจ กสทช.ฟันเฟกนิวส์ ตัดอินเทอร์เน็ต