Thursday, 21 November 2024

ไม่พ้นตายคาบ้าน ลูกสาวเศร้า พ่อป่วยติดโควิด จนท.ไม่ติดตามดูอาการ

ข่าวทั่วไทย ผู้สื่อข่าวรายงานล่าสุด เรื่องสลดสำหรับการรักษาตัวของผู้ติดเชื้อแบบ Home Isolation พ่อป่วยติดโควิด โดยปกติเดิมทีก็ป่วยด้วยโรคประจำตัวและเป็นผู้ป่วยติดเตียง แพทย์ส่งยาให้ไม่ครบ ทรุดตายคาเตียง

สล็อต xo Slotxo

พ่อป่วยติดโควิด แทบมีโรคประจำตัวรุมเร้า กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ไออย่างหนัก อ่อนเพียงอย่างเห็นได้ชัดก่อนตาย สิ่งที่ได้จาก รพ. คือ “ขอแสดงความเสียใจด้วย”

ข่าวล่าสุด รพ.ไม่รับ พ่อป่วยติดโควิด แทบมีโรคประจำตัวรุมเร้า กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง

ลูกสาวออกเล่าด้วยความเศร้า พ่อป่วยติดโควิด ส่วนสมาชิกคนอื่นๆภายในบ้านก็ติดเชื้อด้วยเช่นกัน ทว่าด้วยปัจจุบันมีการติดเชื้อของคนเป้นจำนวนมากจนล้นโรงพยาบาล แพทย์ได้เปลี่ยนมาให้ผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ที่บ้าน โดยจะติดต่ออาการและเช็กรักษาตามอาการคอยส่งยาให้ทาน สำหรับผู้ป่วยที่อยู่รักษาตัวอยู่บ้านหลังติดเชื้อเราเรียกว่าผู้ป่วย 608 โดยจำแนกออกเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบาง

ทั้งนี้ การรักษาตัวของผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง หากรักษาตัวอยู่ที่บ้านต้องได้รับการดูแลจากคนในบ้านเป็นพิเศษ ถ้าได้รับการดูแลไม่ดีพอผู้ป่วยติดเชื้อสามารถที่จะอาการทรุด อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ภายในกรณีนี้ ผู้ป่วยเป็นชายวัย 73 ปี ติดเชื้อ ส่วนโรคประจำตัวประกอบด้วย โรคเบาหวาน-ความดัน

ปัจจุบันสถานการณ์โควิด 19 ยังพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากต่อวัน โดยขณะนี้ ได้ใช้วิธีการให้ผู้ป่วยรับยาและรักษาตัวที่บ้าน แต่ในกรณีผู้ป่วยกลุ่ม 608 ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง การรักษาตัวที่บ้านยังคงน่าเป็นห่วง หากดูแลไม่ดี ก็เสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิต อย่างเช่นกรณีดังต่อไปนี้ ที่มีผู้ป่วยอายุ 73 ปี เป็นผู้ป่วยติดเตียง มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวานและความดัน เข้าระบบรักษาตัวที่บ้าน แต่อาการทรุด เสียชีวิตคาบ้าน

ข่าวทั่วไทย สุดท้ายก็ตาย ป่วยติดเตียง ป่วยติดเชื้อ ติดโควิดยกบ้าน ได้ยาไม่ครบ รพ.ไม่รับ

ทั้งนี้ คุณนงลักษณ์ ผู้เป็นลูกสาวของลุงบุญจันทร์ วัย 73 ปี ได้ออกมาเผยว่า สมาชิกที่อาศัยอยู่เดียวกันมีทั้งหมด 5 คน ตรวจพบเชื้อเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 65 จากนั้นได้มีการไปตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR ผลตรวจออกมาในวันที่ 22 มี.ค. 65 โดยผลที่ออกมาพ่อได้ติดเชื้อและทุกคนในบ้านด้วย

พ่อเป็นกลุ่มผู้ป่วยเปราะบาง หรือ กลุ่ม 608 เนื่องจากพ่อมีอายุมากแล้ว ช่วงที่ไปตรวจหาเชื้ออาการไม่ได้ออกมามาก แพทย์จึงให้รักษาอยู่ที่บ้าน ต่อมาวันที่ 24 มี.ค. 65 จเหน้าที่จากเทศบาลได้เดินทางมาพบและเอายามาให้โดยเป็นยาที่ได้จากศูนย์สาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้านมากที่สุด นำมาให้จำนวน 1 ชุด หน้าซองระบุประกอบไปด้วย เครื่องวัดค่าออกซิเจนพร้อมด้วยปรอท เมื่อเปิดดูก็ไม่พบเจออย่างที่ระบุเอาไว้ เจ้าหน้าที่ก็เลยบอกว่าเดี๋ยวกลับไปเอามาให้ในภายหลัง

ระหว่างนี้พ่อก็ได้ทานยาตามอาการ จากวันนั้นผ่านไป 7 วัน จนถึงวันที่ 26 มี.ค. 65 ตอนนี้พ่อของตนมีอาการอย่างหนัก และสังเกตว่าเริ่มมีอาการอ่อนเพลียมากอีกด้วย ผู้เป็นลูกสาวได้รีบโทรติดต่อไปหาโรงพยาบาลแจ้งอาการ แต่เจ้าหน้าที่ได้บอกว่าไม่สามารถรับเอาลุงบุญจันทร์เข้าไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลได้ในตอนนี้ หรือ ถ้าจะให้รับไปรักษาญาติต้องมาดูแลเอง โดยที่บ้านทุกคนติดเชื้อหมด ยกเว้นแม่ที่แก่ชราและหลานที่ยังเป้นเด็กเล็ก คุณนงลักษณ์ได้หารือกับญาติเพื่อหาทางให้พ่อได้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก่อนจะติดต่อไปทางกลุ่มทีมงานเส้นด้ายเพื่อเป็นสื่อกลางติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลให้อีกที ทางโรงพยาบาลแจ้งจะมาพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อาสาได้เดินทางมาตรวจประเมินดูอาการถึงบ้าน

ข่าวทั่วไทย ติดโควิดยกบ้าน คุณนงลักษณ์ พ่อติดเชื้อตาย รพ.ไม่รับรักษา

วันที่ 27 มี.ค. 65 เจ้าหน้าที่อาสามาตรวจดูอาการของลุงบุญจันทร์ ปรากฏว่าลุงมีร่างกายแข็งทื่อและเสียชีวิตไปแล้ว คุณนงลักษณ์เล่าเสร้ายังไม่ได้พูดคุยหรือกล่าวลากันเลย คำพูดสุดท้ายที่ได้ยินจากปากพ่อ คือ คำว่า “ร้อน” ตอนนั้นได้ให้หลานนำเอาพัดลมให้ใช้ พ่อยังไออยู่เลย จากนั้นเสียไอหายไปทุกคนในบ้านก็คิดว่าพ่อคงนอนหลับพักผ่อนแล้ว

ผู้เป็นลูกสาวได้เล่าต่อว่า ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ศูนย์สาธารณสุขนำยามาให้ จากนั้นมาก็ไม่มีเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานติดต่อถามดูอาการเลย ไม่มีใครมาติดตาม ตนได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่าพ่อติดเชื้อและจัดอยู่ในกลุ่มของ 608 หลังจากที่พ่อสิ้นใจ ลูกสาวได้ส่งข้อความไปบอกเจ้าหน้าที่ได้รู้ เขารก็ตอบกลับมาว่า “ขอแสดงความเสียใจกับผู้ป่วยด้วย”

สำหรับฐานะที่เธอเป็นลูกสาว ไม่ได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มเสี่ยงมากนัก และต้องดูแลใกล้ชิดพ่อมากกว่านี้ หรือ อาจจะต้องมีแพทย์ตามมาตรวจดูอาการให้พ่อถึงที่บ้านเป็นระยะ ตนไม่รู้ว่าอาการแบบไหนที่เรียกว่าวิกฤติ และอุปกรณ์วัดออกซิเจนก็ไม่มี จะออกไปซื้อก็ไม่ได้เพราะติดเชื้อกันทั้งบ้าน

จากเหตุการณ์สูญเสียที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว จึงอยากให้เจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนการรักษาผู้ป่วยให้เหมาะสม ให้คำแนะนำกับผู้ติดเชื้อมากกว่านี้ เพราะสิ่งที่ได้รับนั้นเรียกว่าแทบจะไม่ได้อะไรมาเลย คอยติดตามอาการและเดินทางมาตรวจอาการบาง ไม่ใช่ส่งยาให้แล้วจบกัน

บ้านหลังเกิดเหตุ ติดเชื้อยกครอบครัวและภายในบ้านไม่มีห้องน้ำส่วนตัว ทุกวันนี้ยังต้องใช้ห้องน้ำของสาธารณะ และนับว่าเป็นการเสี่ยงที่ผู้ไม่ติดเชื้อเข้าไปใช้ห้องน้ำต่อจะติดเชื้อไปด้วย แต่ครอบครัวผู้ติดเชื้อไม่ได้มีทางเลือกมากนัก