Sunday, 28 April 2024

สุนัขนำทางVSสุนัขเลี้ยง แตกต่างหรือ สัตว์เลี้ยงยังไง?

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ สุนัขนำทางVSสุนัขเลี้ยง สัตว์ที่ไม่เหมือนสัตว์เลี้ยงปกติ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เรารวบรวมคำตอบมาให้แล้วที่นี่ สุนัขเหล่านี้เมื่อเราเดินไปเจอควรปฏิบัติกับเขาอย่างไร แต่สิ่งสำคัญไม่ควรเดินไปเล่นหรือรู้สึกอยากเล่นด้วยเหมือนสัตว์เลี้ยงปกติ เพราะตอนนั้นเขากำลังปฏิบัติหน้าที่ดูแลเจ้าของ

สล็อต xo Slotxo

สุนัขนำทางVSสุนัขเลี้ยง เป็นดวงตาให้คนตาบอด มีความแตกต่างจากสัตว์เลี้ยงยังไง?

ภาพประกอบข่าว สุนัขนำทาง ช่วยเหลือผู้พิการด้านการมองเห็น

เราเชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินและเห็นมาแล้วบ้าง “สุนัขนำทาง” ในประเทศไทยยังมีให้เห็นน้อย แต่สำหรับต่างประเทศเราจะพบเห็นตามทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร บนถนน สถานที่ท่องเที่ยว สุนัขนำทางจะได้รับการยกเว้น ในบางสถานที่ที่ไม่ควรนำสัตว์เข้าไป แต่ด้วยสุนัขนำทางเป็นดวงตาของผู้พิการทางการมองเห็น จึงได้รับอนุญาตให้เข้าไปเนื่องจากมีการฝึกฝนมาดีแล้ว

ความต่างที่คุ้นเคย ระหว่างคนกับสัตว์เลี้ยง สุนัขเลี้ยง” ส่วนใหญ่มักจะถูกเลี้ยงดูเอาไว้เพื่อเป็นเพื่อนแก้เหงา บางครั้งมีจุดประสงค์ให้เฝ้าบ้านให้เห่าหอนครั้งที่คนไม่อยู่ แต่สำหรับสุนัขบางประเภทก็ถูกฝึกมาเป็นอย่างดี คือ “สุนัขนำทาง” โดยมันคือผู้นำทางและช่วยบำบัดผู้ป่วย สุนัขที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือคนพิการ สำหรับประเทศไทยยังไม่ค่อยมีการยอมรับมากนัก เมื่อผู้พิการทางสายตาใช้สุนัขนำทางเพราะหลายคนยังหวานเกิดอันตราย ถูกทำอันตรายจากสุนัขนำทาง

7 คำตอบ ความต่าง ระหว่าง สุนัขเลี้ยง และ สุนัขนำทาง

1.สุนัขนำทางจะถูกอบรมและฝึกฝนมาจากโรงเรียนเป็นอย่างดี ผ่านการเข้มงวดและการเทรนอย่างน้อยต้อง 18 เดือน หรือ ประมาณ 1 ปีครึ่งนั่นเอง มันต้องได้รับการฝึกฝนในระยะเวลานานกว่าที่จะถูกให้นำมาเป็นผู้ช่วยและบำบัดผู้ป่วย “สุนัขนำทาง” ไม่ได้มาช่วยเหลือแค่ผู้ที่พิการทางการมองเห็นเท่านั้น มันจะต้องถูกฝึกไม่ให้ส่งเสียงดัง ไม่ให้ขับถ่ายหรือฉี่เรี่ยราดตามถนนเหมือนสุนัขทั่วไป ไม่สร้างความเสียหายให้กับคนหรือสถานที่ที่ไปเจอ

ภาพประกอบข่าว เรื่องน่ารู้เกี่ยวข้องกับ สุนัขนำทาง

2.สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อพบเจอ สุนัขนำทาง แม้เราจะรู้สึกเอ็นดูหน้าตาที่น่ารักของมัน สุนัขเหล่านั้นมันจะใส่บังเหียนซึ่งหมายความว่า เวลานั้นคุณไม่ควรไปยุ่งหรือไปเล่นเพื่อเบนความสนใจของมัน เนื่องจากมันกำลังปฏิบัติหน้าที่ ไม่ว่าคุณจะรู้สึกเอ็นดูสงสาร ไม่ควรลูบหัว ให้น้ำ ให้อาหาร ขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วย รวมไปถึงความปลอดภัยของผู้เป็นนายหรือเจ้าของ มันจะต้องมีและใช้สมาธิจดจ่อในการเดิน เพื่อไม่ให้เจ้าของสะดุดหรือหกล้ม เพราะมันจะสร้างอันตรายทั้งกับสุนัขและคน

3.สถานที่ซึ่งห้ามนำสัตว์เข้าไป สุนัขนำทาง คือ 1 ในกรณียกเว้นของทุกสถานที่ตามกฎหมายที่ห้ามนำสัตว์เข้าไป เพราะว่ามันไม่ได้ถือว่าเป็นสัตว์แต่เป็นอีกหนึ่ง “อุปกรณ์” ที่ใช้อำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการด้านการมองเห็น ถ้าจะเปรียบให้มันเป็นอุปกรณ์ก็คือ “ไม้เท้า” หรือ “วิลแชร์” ฉะนั้นขณะที่มันกำลังปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยตาบอดมันจึงสามารถเข้าออกได้ทุกสถานที่ไม่ว่าจะเป็นห้าง ร้านอาหาร หรือรถไฟฟ้า ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดหรือทำผิดกฎของสถานที่นั้นแต่อย่างไร

4.สุนัขนำทาง มันจะปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วย แม้กระทั่งในขณะที่เห็นมันนอน หมอบอยู่ด้านข้างของเจ้าของ ถ้ามันยังใส่บังเหียนหมายความว่าอยู่ในการปฏิบัติหน้าที่ และการที่มันนอนนั้นก็เพื่อบังคับตัวเอง ไม่ให้ออกไปวิ่งเล่น ไม่ใช่การนอนพักผ่อนอย่างที่คนทั่วไปคิด

5.สุนัขนำทาง เป็นผู้ช่วยนำทาง ไม่ใช่ GPS ที่สามารถบอกสถานที่ได้ มันไม่สามารถรู้เส้นทางที่เจ้าของจะไปก่อนหน้า ดังนั้นก่อนที่จะเดินทางไปไหนผู้เป็นเจ้าของต้องศึกษารายละเอียดเส้นทางมาเป็นอย่างดี และบังคับควบคุมสุนัขไปยังจุดหมายปลายทางโดยสวัสดิภาพ อีกทั้งสุนัขนำทางไม่สามารถอ่านป้ายหรือสัญญาณไฟจราจรได้ เพียงแต่มันจะใช้การฟังรวมไปถึงการสังเกตเพื่อตัดสินใจให้กับผู้เป็นเจ้าของในการเดินข้ามถนนนั่นเอง

ความรู้เกี่ยวกับ "สุนัขนำทาง" และการช่วยเหลือผู้พิการทางดวงตา

6.สุนัขนำทาง ไม่ใช่ว่าทุกสายพันธุ์จะเป็นได้ มีการเลือกและจำกัดบางสายพันธุ์เท่านั้น บางคนคิดว่ามองแค่เรื่องสุนัขเรียบร้อยสามารถควบคุมอารมณ์ได้ ซึ่งในปัจจุบันให้ความสำคัญในการเลือกสายพันธุ์ของสุนัขที่จะนำมาฝึกเป็น “สุนัขนำทาง” และซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะพวกมันมีขนาดที่พอดีรวมไปถึงร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ฝึกฝนแล้วสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี ได้แก่  โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ ลาบราดอร์ เยอรมัน มีเพิ่มเติมเข้ามาในปัจจุบันได้มีการผสมสายพันธุ์ระหว่าง golden retriever กับลาบราดอร์ สายพันธุ์ลูกครึ่งผสมที่ได้รับความนิยมนำมาฝึกเป็นสุนัขนำทาง

7.สุนัขนำทาง ไม่ได้อยู่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตลอดชีวิต สำหรับอายุในการทำงานของมันอยู่ที่ 7-10 ปี จากนั้นมันก็จะได้รับการปลดเกษียณ แล้วก็จะมีเจ้าหน้าที่นำสุนัขนำทางตัวใหม่เข้ามาปฏิบัติงานแทน หลังจากที่ปลดเกษียณพวกมันไปไหน ตามปกติแล้วหลังจากที่มันปลดเกษียณไม่ได้นำทางให้เจ้าของมันก็จะอาศัยอยู่กับครอบครัวเดิมหรือเจ้าของเดิมนั่นเอง แต่ในกรณีที่เจ้าของเดิมไม่สะดวกที่จะนำมันไปดูแลเจ้าหน้าที่ก็จะหาบ้านพักใหม่ให้มัน และในบางครั้งอาจจะส่งตัวกลับไปอยู่ในศูนย์ฝึกเดิมที่เคยจากมา

QR CODE LINE KHAODD