สุขภาพ โรคภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง เป็นแบบไหน อาการแบบไหนถึงเรียกว่าอาการเริ่มต้น!? คนรักสัตว์ต้องห้ามเลื่อนผ่าน ต้องแวะเข้ามาดูเข้ามาทำความเข้าใจกันก่อน เพราะไม่แน่ในอนาคตหรือในตอนนี้เราอาจกำลังเป็นโรค “ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง”อยู่ก็เป็นไปได้
โรคภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง คืออะไร!? มีอาการแบบไหนเช็คได้เลย
สำหรับในวันนี้เราจะพาทุกท่านนั้นไปทำความรู้จักกับโรคที่มีชื่อว่าโรค “ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง” สำหรับคนที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงน่ารักอย่างพวก สุนัข แมว หมา กระต่าย เอาไว้ที่ภายในบ้าน บอกเลยใครที่นอนกับสัตว์เลี้ยงนั้นยิ่งต้องแวะเข้ามาส่องโรคที่เรานำมาให้ได้ดูในวันนี้ด่วนๆ
โรค “ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง” คืออะไร?
อาการภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง (Pet allergy) เป็นภาวะที่ทาสอย่างเรานั้นเกิดอาหารแพ้โปรตีนที่พบได้จำนวนเยอะตามเซลล์ผิวหนัง ขน น้ำลาย และมูลของสัตว์ และมันจะทำให้ทาสอย่างเรานั้นมี ต่างๆ เช่น
- อาการหอบหืด
- อาการคัน
- อาการจาม
ซึ่งปัจจัยหลักที่อาจทำให้ทาสแบบเรานั้นพบเจอกับโรคภูมิแพ้สัตว์เลี้ยงนั้น อาจมีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันของเรานั้นมีการทำงาน เพื่อต่อต้านสิ่งที่ว่ามาเหล่านี้ที่เข้าไป จนทำให้เกิดกลไกการป้องกัน ต่างๆนาๆเกิดขึ้น และออกมาในรูปแบบอาการแพ้ขึ้น
สัญญาณของโรคภูมิแพ้สัตว์เลี้ยงที่คุณควรสังเกต
เมื่อทาสแบบเรานั้นได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย ภายในระยะเวลา 15-30 นาที หรือหลังจากนั้น อาจทำให้เรานั้นเริ่มมีสัญญาณเตือนบางอย่าง เช่น
- คัดจมูก
- น้ำมูกไหล
- ไอ จาม
- คันบริเวณรอบๆ ดวงตา
- คันจนถึงขั้นน้ำตาไหลออกมา
- คันช่องปาก ลำคอ
- ใบหน้าบวม
- คันผิวหนัง
- ผื่นแดงขึ้นเป็นบางจุดตามร่างกาย
นอกจากอาการข้างต้นแล้วเรายังเสี่ยงที่จะเป็น “โรคหอบหืด” ได้อีกด้วย โดยอาการมีดังนี้
- มีอาการแน่นหน้าอก
- หายใจลำบาก
- มีปัญหาในการนอนหลับที่ผิดปกติ
- เนื่องจากอาการไอ และจามตลอดเวลา
**หากมีอาการดังกล่าวควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- เพื่อตรวจร่างกายให้แน่ชัดในเบื้องต้น
- ก่อนดำเนินการรักษาในลำดับถัดไป
การวินิจฉัย และวิธีรักษาโรคภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง
- ต้องทำการวินิจฉัย โดยการตรวจภายในช่องจมูก
- เพื่อดูเยื่อบุจมูกว่ามีอาการบวมหรือไม่
- รวมถึงตรวจสอบผิวหนัง หรือเจาะเลือด
- เพื่อนำไปทดสอบหาสารก่อภูมิแพ้
จากนั้นแพทย์อาจแนะนำเป็นวิธีการรักษา และการใช้ยาเหล่านี้ร่วม เช่น
- อะเซลาสทีน (Azelastine)
- โอโลพาทาดีน (Olopatadine)
- เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine)
- ลอราทาดีน (Loratadine)
- เซทิริซีน (Cetirizine)
- เป็นต้น
- ยาประเภทคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
- สเปรย์ฉีดจมูกที่ช่วยลดอาการอักเสบ และควบคุมโรคไข้ละอองฟาง เช่น
- ฟลูติคาโซน โพรพิโอเนต (Fluticasone Propionate)
- ไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone)
- โมเมทาโซน ฟูโรเอท (Mometasone furoate)
สิ่งที่ควรทำหลังจากพบอาการดังกล่าว คือ
- ควรเว้นระยะห่างกับสัตว์เลี้ยงให้มากขึ้น
- หมั่นอาบน้ำทำความสะอาดสัตว์เลี้ยง
- หมั่นทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านอยู่บ่อยครั้ง
- เพื่อเป็นการกำจัดเชื้อโรค แบคทีเรีย
สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมสดใหม่ทุกวันได้ที่นี่
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์