วิจัยชี้!! คนทำงานหลังเที่ยงคืน “ไม่ได้” แถมส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานและสุขภาพแย่ ตามหลัก Mind after Midnight Hypothesis เพราะสมองไม่ได้ถูกออกแบบให้มาทำงานกลางคืน ซึ่งมันอาจส่งผลให้เรานั้นแปรปรวนไป เช่น ความคิดด้านมืดและอารมณ์เชิงลบ และการอยากกินอะไรที่แปลกๆ
คนทำงานหลังเที่ยงคืน “ไม่ได้” เพราะสมองไม่ได้ถูกออกแบบให้มาทำงานกลางคืน
แนวคิดใหม่ในเรื่องการนอนหลับของนักวิจัยที่ต่างประเทศที่พึ่งพึ่งถูกทดลองมาเมื่อไม่นานนี้นั้น บอกว่ามนุษย์เรานั้นไม่ควรตื่นขึ้นมาหลังจากเวลา “เที่ยงคืน” เพราะมันส่งผลให้การทำงานของสมอง “แปรปรวน” จนอาจสร้างความคิดด้านมืดและอารมณ์เชิงลบที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้ แนวคิดใหม่ล่าสุดที่เรากล่าวมาเมื่อตอนต้นนั้นถูกนำมาเผยแพร่ผ่านวารสาร Frontiers in Network Psychology ที่มีหัวเรื่องเขียนเอาไว้ว่า “สมมติฐานเรื่องความคิดและจิตใจหลังเวลาเที่ยงคืน” (Mind after Midnight Hypothesis) แนวคิดที่ว่านี้นั้นได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยจากหลายสถานบันในสหรัฐฯ
ในเนื้อหานั้นบอกว่าโดยทั่วไปแล้วเชื่อกันว่าอวัยวะต่างๆบนร่างกายของมนุษย์นั้นมันทำงานตามวงจร Body Clock โดยเฉพาะส่วน “สมอง” ที่รับหน้าที่ส่งต่อความคิดจิตใจจะตื่นตัวและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดแบบไม่มีผิดเพี้ยนในเวลากลางวัน ซึ่งในเชิงวิวัฒนาการแล้วเป็นเวลากลางวันนั้นคือเวลาที่มนุษย์ต้องออกล่าหาอาหาร และเจ้าสิ่งนี้มันก็คือตัวแปรหลักที่ส่งผลให้สมองของเรานั้นทำงานแตกต่างออกไปในเวลากลางคืน เนื่องจากระดับโมเลกุลและคลื่นสัญญาณต่างๆ จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และพฤติกรรมที่ไม่ดีสักเท่าไหร่
และดูเหมือนว่ามันจะไม่เป็นประโยชน์ต่อความอยู่รอดของมนุษย์ อย่างเช่น เกิดอยากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อยากใช้ยาเสพติด เกิดความคิดที่เสี่ยงอันตราย เกิดมีอารมณ์หดหู่เศร้าจนไม่อยากจะทำอะไรนอกจากทำร้ายตัวเอง สมมติฐานเรื่องความคิดจิตใจหลังเวลาเที่ยงคืนนั้นเขียนเอาไว้ว่า สมองที่ถูกบังคับให้ตื่นอยู่เวลาดึกดื่นที่ไม่ใช่เวลาทำงานตามระบบของมัน จะส่งผลให้คนนอนดึกที่ชอบอดหลับอดนอนอน นั้นสามารถเก็บรวบรวมและนำไปตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้านมืดและอารมณ์เชิงลบได้ไวมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องจากว่าสมองนั้นทำงานผิดเวลา มันเลยส่งผลกระทบต่อระบบการให้รางวัลจากศูนย์สร้างความสุขในสมอง
ดร. เอลิซาเบธ เคลอร์แมน หนึ่งในสมาชิกทีมวิจัยจาก Harvard Medical School กล่าวว่า
มนุษย์นั้นควรให้ความสำคัญต่อการศึกษาความเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้องกันระหว่างการนอนดึกหรือการนอนไม่หลับ และการฆ่าตัวตาย การทำร้ายตนเอง รวมทั้งพฤติกรรมที่ทำให้มนุษย์นั้นเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยต่างๆให้มากๆ เพราะว่ามีงานวิจัยมากมายที่ออกมาก่อนหน้านี้บอกว่า ผู้ใช้ยาเสพติด อย่างเช่น “horse” สามารถควบคุมความอยากความต้องการเอาไว้ได้ในเวลากลางวัน แต่เมื่อถึงกลางคืนเขากลับทำไม่ได้ และคนที่นอนไม่หลับเรื้อรังหลายๆคืนส่วนใหญ่มักรู้สึกหดหู่และซึมเศร้า อีกทั้งยังรู้สึกเดี่ยวดายและหมดหวังเพิ่มขึ้นมากจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด เพราะช่วงเวลาระหว่างเที่ยงคืนถึงหกโมงเช้านั้น มีนัยยะสำคัญซ่อนอยู่ส่งผลทำให้คนฆ่าตัวตายเกิดขึ้นมากกว่าเวลาอื่นของวันถึง 3 เท่า อย่างเช่นตัวอย่างงานวิจัยที่เรานำมาให้ดู
- งานวิจัยของบราซิลเมื่อปี2020 ชี้ให้เราเห็นว่าการใช้ยาเสพติดและยาแก้ปวดจำพวก opioid receptor เกินขนาดในช่วงเวลากลางคืนนั้นอัตราที่มากกว่าตอนกลางวันประมาณ 5 เท่า
- ส่วนงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์JCSM ปี 2020 เขียนเอาไว้ว่าการนอนดึกเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ทำให้เรานั้นเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายได้ ซึ่งเรื่องนี้อาจเกิดขึ้นจากระบบประสาทที่ทำงานผิดเพี้ยนไปเพราะนาฬิการ่างกายรวน
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์