Monday, 25 November 2024

วิจัยชี้!!คนที่จำความฝันได้ดี มักจะมีความคิดสร้างสรรค์แสดงให้เห็นถึงว่าสมองทำงานเชื่อมโยงกันได้ดี

08 Jun 2022
370

คนที่จำความฝันได้ดี วิจัยชี้!!คนเหล่านี้มักจะมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าคนอื่น แถมยังแสดงให้เห็นไปถึงว่าสมองทำงานเชื่อมโยงกันได้ดี สุขภาพเพราะบางครั้งเรื่องราวความฝันในแต่ละคืนนั้นสามารถหลงลืมได้เป็นธรรมดา แต่ถ้าจำได้แบบแม่นยำนั้นถือว่าเป็นเรื่องไม่ธรรมดาและยอดเยี่ยมมากๆจากกงานวิจัยที่เรานำมาให้ดูในวันนี้

สล็อต xo Slotxo

คนที่จำความฝันได้ดี วิจัยชี้!!คนกลุ่มนี้มีจะมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าคนที่จดจำความฝันไม่ได้

คนที่จำความฝันได้ดี-วิจัยชี้!!คนเหล่านี้มักจะมีความคิดสร้างสรรค์

ความฝันที่มาเมื่อตอนที่เราหลับใหลนั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติที่สามรถเกิดขึ้นได้ทุกคนและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และการจำความฝันหรือหลงลืมความฝันนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าการจำคววามฝันได้อย่างแม่นยำนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดีแถมน่าสนใจ เพราะเมื่อไม่นานมานี้มีหนึ่งงานวิจัยจาก University of California, Berkeley ได้นำข้อมูลการวิจัยสุดน่าสนใจออกมาเผยแพร่เกี่ยวกับการจดจำความฝันลงในวารสาร Nature and Science of Sleep ส่วนเนื้อหาสำคัญของเนื้อหาบอกว่า คนที่สามารถจดจำความฝันได้อย่างแม่นยำเป็นประจำ มักเป็นคนที่มีความคิดดสรรค์สร้าง แถมมันยังสื่อให้เห็นอีกว่าการทำงานของสมองเชื่อมโยงกันได้ดีกับเชื่อข่ายต่างๆ ส่วนงานวิจัยที่อ้างอิงมานี่เป็นของนักวิจัยดุษฎีบัณฑิตจาก Raphael Vallat

คนเหล่านี้มักจะมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าคนอื่น

การทดลองในครั้งนี้นั้นทีมนักวิจัยได้นำเอาเทคนิคการถ่ายภาพสมองมาใช้ในการศึกษาและหาข้อสันนิฐานว่า อาสาสมัครที่จดจำความฝันได้อย่างแม่นยำ และจดจำความฝันไม่ได้เลย มีความแตกต่างกันทางประสาทสรีรวิทยาอย่างไร ในการทดลองครั้งนี้นั้นได้ทำการคัดเลือกอาสาสมัครที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงนอนหลับพักผ่อนตรงเวลา จำนวน 55 คน ที่อยู่ในช่วงวัย 19 – 29 ปี ส่วนผลการทดลองเบื้อต้นนั้นมีผลออกมาดังนี้

อาสามสมัครจำนวน 28 คน สามารถจดจำความฝันในตอนที่หลับได้อย่างแม่นยำ

  • หมายเหตุ***พวกเขาสามารถจดจำความฝันได้อย่างแม่นยำโดยเฉลี่ยแล้ว 6 ความฝันต่อหนึ่งสัปดาห์

อาสามสมัคร 27 คน สามารถจำความฝันในขณะที่นอนหลับได้น้อย

  • หมายเหตุ***พวกเขานั้นสามารถจดจำความฝันได้ในขณะที่หลับโดยเฉลี่ยน้อยแล้วกว่า1 ความฝันต่อหนึ่งสัปดาห์

****อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มนั้นทุกอย่างที่ใกล้เคียงถึงขั้นเหมือนกันทุกอย่าง ตั้งแต่อายุระยะเวลาการนอนหลับ และการศึกษา

ส่วนการศึกษาในครั้งต่อมานั้นนทีมนักวิจัยได้นำอาสาสมัครทั้งหมดมาเข้ารับการทดสอบที่ห้องปฏิบัติการของโรงพบาลแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า Le Vinatier  ในการทดลองครั้งนั้นอาสาสมัครทุกคนจะได้ลงมือทำแบบทดสอบตัวเองในด้านต่างๆที่จำเป็น อีกทั้งยังต้องทำแบบทดสอบทางประสาทสรีรวิทยา “Wechsler Memory Scale” ที่ต้องนำมาใช้ในการตรวจเช็คความแม่นยำในการจดจำร่วมกับวิธี “Guildford Uses Task” ที่ต้องนำมาใช้เป็นตัวเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ส่วนอีกหนึ่งวิธีที่สำคัญที่ไม่พูด ถึงไม่ได้นั้นก็คือ Digit Span Test ตัวอ่านความจำว่าบรรจุได้เยอะเท่าไหร่ หลังจากทำแบบทดสอบเสร็จอาสาสมัครทุกคนจะต้องนอนพักที่ห้องงปฏิบัติการแห่งนี้ พร้อมกันกับการเข้ารับการทดลองสแกนภาพสมองด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก 3 ครั้ง เพื่อต้องการหาว่าการทำงานของสมองในตอนที่หลับอยู่เป็นอย่างไร

คนที่จำความฝันได้ดี-เป็นคนฉลาด

ผลการวิจัยในครั้งนี้นั้นออกมาว่า อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มมีทุกอย่างที่เหมือนกันตั้งแต่บุคลิกภาพจนถึงความสามารถในการจดจำ ส่วนเรื่องงที่กลุ่มอาสาสมัครแตกต่างกันนั้นก็คือ กลุ่มอาสาสมัครที่สามารถจดจำความฝันได้อย่างแม่นยำนั้นสามารถทำคะแนนในแบบสอบถาม Guildford Uses Task ได้คะแนนมากกว่า กลุ่มอาสาสมัครที่จดจำความฝันได้น้อย และนั้นหมายความว่าอาสาสมัครกลุ่มที่ทำคะแนนได้มากนั้นมี “ความคิดเชองสร้างสรรค์” มากกว่าอาสาสมัครกลุ่มที่จดจำความฝันได้น้อย อีกหนึ่งเรื่องที่ทำให้น่าทึ่งไปมากกว่าเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นนั้นก็คือ กลุ่มอาสาสมัครที่จดจำความฝันได้อย่างแม่นยำนั้น สามารถจัดระบบระเบียบการทำงานของสมองในรูปแบบต่างๆได้อีกด้วย

ถึงแม้ว่าผลการทดลองในครั้งนี้จะออกมาดีแต่มันก็มีข้อจำกัดอยู่หลายอย่างที่ไม่สามารถบอกได้ว่า สิ่งที่ทำขึ้นมานั้นเป็นเรื่องจริงแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะการทดลองในครั้งนี้นั้นทำขึ้นกับกลุ่มอาสาสมัครจำนวนไม่มาก แถมการทำแบบทดสอบ Guildford Uses Task ประสาทสรีรวิทยานั้นก็ใช้ระยะเวลาเพียงน้อยนิดเท่านั้น เพราะอาสาสมัครนั้นจะต้องทำการทดสอบความคิดสร้างสรรค์เพียงครั้งเดียว ซึ่งมีเวลาให้ทำเพียงแค่ 2 นาทีเท่านั้นในการวิเคราะห์ ซึ่งสิ่งที่นำมาให้อาสาสมัครทดลองในครั้งนี้นั้นมีน้อยและไม่หลากหลาย จึงอาจจะส่งผลให้การทดลองในครั้งนี้ผิดพลาดไปบ้างไม่น้อยก็มาก

คนที่จำความฝันได้ดี-มีความคิดสร้างสัน

Raphael Vallat กล่าวทิ้งท้ายในการทดลองในครั้งนี้ว่า “ผมคิดว่าความฝันในตอนที่เราหลับใหลเป็นสิ่งสุดท้ายที่อยู่ในกระบวนการคิดวิเคราะห์ของมนุษย์ ซึ่งในความฝันนั้นคือหนึ่งดินแดนที่กว้างใหญ่ที่เราไม่รู้จัก และถึงแม้ว่ามนุษย์จะใช้เวลาที่มีอยู่ไปกับความฝันเป็นจำนวนมาก แต่ในทางกลับกันงานวิจัยมากมายก็ยังไม่มีคำตอบออกมาให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า “ความฝัน” แท้จริงแล้วคืออะไร ดังนั้น ความฝันมันจึงกลายเป็นหัวข้อเรื่องที่นักวิจัยจะต้องทำการศึกษาและทดลองต่อไป ”