สุขภาพ ภาวะสมองส่วนหน้าเสื่อม frontotemporal dementia ทำความรู้จักภาวะที่นักแสดงรุ่นใหญ่ “บรูซ วิลลิส” ต้องยุติอาชีพนักแสดงไปตลอดการ โดยสื่อ ข่าวต่างประเทศ รายงานเรื่องราวน่าเศร้าของแฟนคลับ “บรูซ วิลลิส” นี้ออกมาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2022 ที่ผ่านมา
ภาวะสมองส่วนหน้าเสื่อม ที่ “บรูซ วิลลิส” ต้อง “หยุดอาชีพนักแสดง” เพราะมัน
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2022 วงการบันเทิงต้องพบกับข่าวร้าย Walter Bruce Willis ดารา Hollywood ชื่อดัง ต้องยุติอาชีพนักแสดงแล้ว หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่า กำลังป่วยกับโรคภาวะการสูญเสียการสื่อความ หรือ อาเฟเซีย (Aphasia) ซึ่งกระทบต่อความสามารถในการพูดและเขียน
ต่อมา Emma Heming Willis ภรรยาขอ Walter Bruce Willis ได้เปิดเผยว่าตอนนี้ Bruce Willis ถูกตรวจเจอว่าป่วยโรคสมองเสื่อมประเภท สมองส่วนหน้าเสื่อม ซึ่งทำให้แฟนคลับและเพื่อนๆ นักแสดงในวงการบันเทิงนั้นต่างออกมาให้กำลังใจกันเป็นจำนวนมาก ว่าแต่ภาวะดังกล่าวมันคืออะไร เรามาทำความรู้จักกับมันกัน
จากข้อมูลของสมาคม AFTD ได้อธิบายเรื่องนี้ว่าโรคดังกล่าวนั้นเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสมอง ที่เกิดจากการ decline ของสมองส่วนหน้า (หรือขมับ) ซึ่งสมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ พฤติกรรม และภาษาโรคสมองส่วนหน้าเสื่อมนั้นไม่เหมือนกับ Alzheimer’s
เพราะว่ามันคือประเภทที่หลากหลายแถมผู้ที่ได้รับการตรวจเจอว่าเป็น โรคสมองเสื่อมส่วนหน้า มักจะอายุน้อยมากกว่าผู้ที่ป่วยเป็น Alzheimer’s โดยจะอยู่ในช่วงอายุ 40 ต้นๆ ถึง 60 ต้นๆ AFTD บอกว่า โรคสมองส่วนหน้าเสื่อม นั้น ผลกระทบต่องาน ครอบครัว และการเงินมากกว่าโรคอัลไซเมอร์อย่างมาก เนื่องจากอายุที่เริ่มเป็นโรคนี้จะมีอายุน้อยกว่า Alzheimer’s
ถ้าถามว่าโรคดังกล่าวนั้นมีคนเป็นมากหรือเปล่าก็ต้องบอกว่าไม่ เมื่อเทียบกับผู้คนแล้วพบว่าทาง AFTD คาดการณ์ว่ามีประมาณ 50,000 ถึง 60,000 คน ที่ได้รับการตรวจว่าเป็น โรคสมองเสื่อมส่วนหน้า ในสหรัฐอเมริกา แต่สิ่งที่เลวร้ายคือโรคนี้มีความหลากหลาย ผู้ป่วยจึงมักได้รับการวินิจฉัยผิดพลาดว่าเป็นอัลไซเมอร์ โรคซึมเศร้า โรคพาร์กินสัน หรืออาการทางจิตเวช
และโดยทั่วไปจะใช้เวลามากกว่า 3 ปี จึงจะตรวจและเช็คโรคได้อย่างถูกต้อง และถ้าถามว่าสาเหตุของโรคมันเกิดจากอะไรคืต้องบอกว่าสมัยนี้ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แท้จริงของ โรคสมองส่วนหน้าเสื่อม แต่องค์กรทางการแพทย์หลายแห่งกล่าวว่า น่าจะมีความเกี่ยวของกับความผิดปกติทางพันธุกรรม
ส่วน Dr. Paul Schulz ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาแห่ง health science center จาก University of Texas บอกว่าบาดแผลทางจิตใจ (Trauma) อาจเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เป็น โรคสมองส่วนหน้าเสื่อม Johns Hopkins University มหาวิทยาลัยทางการแพทย์ระดับโลก กล่าวว่า
กลุ่มคนไข้บางรายที่มีภาวะสมองส่วนหน้าเสื่อม จะมีโครงสร้างน้อยๆ ที่เรียกว่า Pick body ในเซลล์สมอง (Pick bodies คือ การมีปริมาณ หรือชนิดของโปรตีนที่ผิดปกติ) โรคสมองส่วนหน้าเสื่อม จะส่งผลต่อพฤติกรรม และบุคลิกภาพ อาจทำให้เกิดปัญหาในการพูด และในบางกรณีอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว รวมถึงอาการทั่วไปอื่นๆซึ่งมีเยอะมากๆ ดังนี้
- หุนหันพลันแล่น,
- ชอบทำพฤติกรรมบังคับซ้ำๆ เช่น
- การเคา
- ตบมือ
- ตบปาก
- สูญเสียความเห็นอกเห็นใจ,
- สูญเสียทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์อื่นๆ
- ไม่มีความรู้สึกต่อผู้อื่น
- อารมณ์แปรปรวนบ่อย,
- ขาดวิจารณญาณ,
- ไม่แยแสต่อสิ่งใด,
- พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป
- กินมากเกินไป
- ชอบกินของหวาน
- กินวัตถุที่กินไม่ได้
- ฟุ้งซ่าน,
- มีปัญหาในการหาคำที่เหมาะสม
- มีปัญหาในการใช้กับคำพูดหรือชื่อวัตถุ
- ไม่รู้ความหมายของคำอีกต่อไป,
- ไม่สามารถสร้างประโยคในการสื่อสารได้
ความเลวร้ายของโรคดังกล่าวนั้นมันจะแพร่กระจายไปตามส่วนต่างๆ ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการที่แตกต่างกันไป เนื่องจากขึ้นอยู่กับว่าโรคนี้นั้นมันเกิดขึ้นที่ส่วนใด และมันก็ส่งผลต่อการแพร่กระจายว่ามันจะกระแพร่กระจายไปที่ส่วนไหน และมันจะทำให้เกิดอาการ/โรค อื่นๆ ตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป แล้วสุดท้ายก็กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง
สิ่งที่ทำให้เศร้าและเสียใจมากที่สุดก็คือการที่นักแสดงที่เราชื่นชอบนั้นต้องพบเจอกันมัน ที่ยังไม่มีหนทางการรักษาAFTD c]t,yoไม่มีการรักษาใดที่สามารถชะลอหรือหยุดยั้งการลุกลามของโรคได้ มันจะเป็น “การบำบัดตามอาการ” แทนการรักษาอาการส่วนยาที่ให้สามารถช่วยอาการได้อย่างมากเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของบุคคลนั้นดีขึ้น แต่มันไม่สามารถรักษาโรคได้
AFTD บอกว่า โรคดังกล่าวนั้นอาจนำไปสู่ปัญหาที่รามมาถึงชีวิต เช่น โรคปอดบวม การติดเชื้อ หรือการบาดเจ็บจากการหกล้ม เพราะโรคปอดบวมเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบมากที่สุด ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่ได้ตายเพราะโรคนี้แต่จะตายเพราะอาการข้างเคียง หรือภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์และที่น่าเศร้าที่สุด คือ อายุขัยเฉลี่ยของผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มมีอาการ คือ 7 ถึง 13 ปี
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์