Friday, 22 November 2024

รู้ไหมว่าทำไมบางคน! จิตตกเป็นพิเศษหลังตื่น นอนในตอนเช้าตรู่!!หรือนี้คือภาวะซึมเศร้ายามเช้า!!?? Morning Depression

12 May 2022
418

จิตตกเป็นพิเศษหลังตื่น นอนในตอนเช้าตรู่ อาการที่หลายคนมักพบเจอ!!หลายคนสงสัยหรือนี้คือภาวะซึมเศร้าในยามเช้า!!?? Morning Depression ถ้าจะบอกว่านี้คืออีกหนึ่งปัญหาด้านสุขภาพมันก็ไม่เชิงว่าจะใช้คำนั้นได้จริงๆ แต่ถ้าว่ามีหลายคนถามมันมีจริงหรือ “โรคซึมเศร้ายามเช้า”

สล็อต xo Slotxo

จิตตกเป็นพิเศษหลังตื่น นอนในตอนเช้าตรู่!!หรือนี้คือภาวะซึมเศร้ายามเช้า!!??

จิตตกเป็นพิเศษหลังตื่น-นอน

เชื่อว่ามีหลายคนมากบนโลกใบนนี้ที่มักพบเจอกับปัญหาต่างๆนาๆในตอนเช้าตรู่ที่ลืมตาขึ้นมา และปัญหาแรกที่ว่านั้นก็คือการลุกขึ้นจากเตียงนอนดูดวิญญาณของเรา 555 บอกเลยปัญหานี้ไม่มีทางแก้หายไม่ว่าใครก็ไม่อยากลุกโดยเฉพาะในวันที่อากาศดี๊ดีดังนั้นหากมีเหตุการณ์อะไรที่รุณแรงเกินขึ้นในตอนเช้า มันก็อาจเป็นหนึ่งในเรื่องที่ทำให้เราพบเจอกับอาการจิตตกได้อย่าง่ายดาย

หรือนี้คือภาวะซึมเศร้ายามเช้า!

Morning Depression หรือ Diurnal Mood Variation ฟังดูแปลกชอบกลใช่ไหม!!แต่ขอบอกก่อนเลยว่า “ภาวะซึมเศร้าในตอนเช้า” นั้นคือเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้จริงกับทุกๆคน ภาวะซึมเศร้าในตอนเช้าถือว่าที่มีอยู่จริงและสามารถเกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่าจะถูกแบ่งแยกออกให้เป็นคนละประเภทกับซึมเศร้า ส่วนอาการนั้นมักส่งผลให้เรารู้สึกว่าตัวเราเองนั้นมีอารมณ์แย่ที่สุดในช่วงเช้า ในบางครั้งอาจมีอาการอื่นๆแทรกเข้ามาด้วยเช่น

  • หงุดหงิดง่าย
  • เซื่องซึม
  • ไม่มีความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิต
  • สติหรือสมาธิไม่มีเลย
  • นอนหลับนานกว่าปกติ

ถึงแม้ว่าภาวะนี้จะยังไม่มีการศึกษาและไม่มีงานวิจัยใดออกมาชี้ผลให้เห็นอย่างเป็นทางการ แต่ถ้าว่านักวิทยาศาสตร์ก็คาดเดาไปก่อนว่าอาการนี้น่าจะมีเหตุผลมาจากสาเหตุมาจาก Circadian rhythm หรือที่เรียกกันว่า“ความผันแปรของจังหวะชีวิต”

ความผันแปรของจังหวะชีวิต

การคาดเดาในครั้งนนี้นั้นอ้างอิงมาจากงานวิจัยของต่างชาติในปี 2013ในเนื้อหากล่าวว่าเมื่อนาฬิกาชีวิตถูกรบกวนจากสิ่งต่างๆรอบๆตัว ร่างกายของมนุษย์จะปล่อยฮอร์โมนบางตัวผิดเวลา ซึ่งมันส่งผลทำให้ฮอร์โมนที่ควรจะทำให้เราง่วงถูกปล่อยออกมาตอนเช้า ดังนั้นหากมนุษย์ถูกรบกวนเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าจะสูงได้

จิตตกเป็นพิเศษหลังตื่น-นาฬิกาชีวิตถูกรบกวน

ในส่วนการรักษาภาวะซึมเศร้าในตอนเช้านั้นก็ไม่ได้แตกต่างจากการรักษาโรคซึมเศร้าทั่วไปนัก อาจแตกต่างกันแค่ยาที่แพทย์สั่งให้ตามความเหมาะสม สำหรับคนที่คาดว่าตัวเองมีภาวะนี้อยู่ก็สามารถลดอาการซึมเศร้ายามเช้าในเบื้องต้นได้โดยวิธีการดังนี้

  • เข้านอนและตื่นเวลาเดิมทุกวัน
  • กินอาหารตามเวลา
  • งดการงีบหลับนานๆ
  • หลีกเลี่ยงสารที่ทำให้นอนหลับไม่สนิท เช่น
  • คาเฟอีน
  • แอลกอฮอล์
  • ยาสูบ
  • ออกกำลังกายบ่อยๆ
  • งดออกกำลังก่อนนอน
  • อย่างน้อย 4 ชั่วโมง