โรคเท้าเป็นรูเกิดจาก อะไร? แล้วจะจัดการอย่างไรดีเมื่อเกิดขึ้นกับเรา รูที่เท้ามีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ bacteria ที่มีชื่อว่า Corynebacteria และเชื้อชนิดอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่ากายแต่อาจส่งกลิ่น “เหม็น” มารบกวนจิตใจภายนอกเท่านั้น และที่จมูกของคนอื่นเท่านั้น
โรคเท้าเป็นรูเกิดจาก อะไร? แล้วจะจัดการอย่างไรดีเมื่อเกิดขึ้นกับเรา
Pitted Keratolysis โรคเท้าเป็นรู คือโรคผิวหนังหนึ่งประเภทที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามบริเวณใต้ฝ่าเท้าในส่วนที่เราลงน้ำหนักมากๆ มีลักษณะเป็นรูเป็นจุดเล็กๆที่ฝ่าเท้า พร้อมกลิ่นเหม็นที่ส่งออกมา ซึ่งโรคนี้นั้นจะไม่มีอาการที่รุนแรงขึ้นจนทำให้สุขภาพร่างกายย่ำแย่ลง และจะไม่มีการติดต่อจากคนสู่คน และสามารถรักษาให้หายได้จากโรคนี้ได้แบบไม่เกิดขึ้นอีก โดยการเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ยา แม้ว่าโรคนี้จะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย แต่มันอาจมีผลต่อจิตใจและความมั่นใจสำหรับปผู้ป่วย เพราะโรคดังกล่าวนั้นมันคือโรคที่ทำให้ผู้ป่วยนั้นวิตกกังวลไม่มั่นใจในการถอดลงเท้าเมื่อไปในที่ที่มีคนจำนวนมาก
Pitted Keratolysis โรคเท้าเป็นรูเกิดจากอะไร
1.เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น
- Corynebacteria,
- Kytococcus sedentarius,
- Dermatophilus congolensis,
- Actinomyces
- Streptomyces
2.คนที่ชอบสวมถุงเท้ารัดแน่น
3.คนที่ใส่รองเท้าที่ไม่มีการระบายอากาศ
3.คนที่มีภาวะเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis)
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเท้าเป็นรูได้มากขึ้น
1.อายุที่เพิ่มขึ้น
2.โรคหรือภาวะผิดปกติบางชนิด เช่น
- โรคเบาหวาน
- ภาวะน้ำหนักเกิน
- ภาวะฝ่าเท้าหนา
3.ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
4.การไม่รักษาความสะอาด
อาการของโรคเท้าเป็นรู
1.รู้สึกเจ็บหรือคันฝ่าเท้าที่เป็นรูตอนเดิน
2.ฝ่าเท้ามีเหงื่อออกมากผิดปกติ
3.ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าเปื่อย
4.ผิวหนังบริเวณที่เกิดรอยรูมีอาการแดง
ผู้ป่วยโรคเท้าเป็นรูควรทำอย่างไร
1.ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
2.ยาฆ่าเชื้อ (Antiseptics) ชนิดทา
3.เลี่ยงการสวมใส่ถุงเท้าที่รัดแน่นจนเกินไป
4.เลี่ยงการสวมใส่รองเท้าที่รัดแน่นจนเกินไป
5.เลือกสวมใส่ถุงเท้าที่ช่วยซับเหงื่อได้ดี
6.สลับใช้รองเท้าหลาย ๆ คู่ และ
- นำรองเท้าที่ใช้แล้วไปตากแดดบ่อย ๆ
7.หลีกเลี่ยงการใช้รองเท้าร่วมกับผู้อื่น
8.เลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
9.ล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้งหลังอาบน้ำ
10.เช็ดเท้าให้แห้งสนิททุกครั้ง
โดยปกติผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้นั้นหากได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจากคำแนะนำของแพทย์ โรคดังกล่าวนั้นก็จะค่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั้งโรคนี้หายไปหลังจากใช้ยาเพียง 1-8 สัปดาห์ แม้จะสามารถหายขาดได้ด้วยการรักษาอย่างถูกวิธี แต่ก็อย่าชะล่าใจ เพราะโรคนี้มันสามารถกลับมาเป็นได้อีกครั้ง ถ้าหากผู้ป่วยนั้นไม่รักษาคสามสะอาด และปล่อยให้เท้านั้นพบเจอกับความชื้นอยู่เป็นประจำ ดังนั้นหากผู้ป่วยไม่อยากให้โรคนี้กลับมาเป็นอีกครั้งจะต้อง….
1.จะต้องดูแลเท้าให้แห้วตลอดเวลา
2.รักษาเท้าให้แห้งและสะอาดเสมอ
3.สวมถุงเท้าที่ช่วยดูดซับความชื้นที่ดี เช่น
- ถุงเท้าที่ทำมาจากผ้าฝ้าย
- ถุงเท้าที่ทำมาจาผ้าโพลีเอสเตอร์
- ถุงเท้าที่ทำมาจาเส้นใยไนลอน
4.ควรนำรองเท้าไปตากแดดบ่อย ๆ
5.ควรเลือกสวมรองเท้าแตะหรือ
- รองเท้าที่ระบายอากาศได้ดีเสมอ
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์