ข่าวทั่วไทย เป็นอาชญากรหรือเหยื่อ ถ้าผู้กระทำผิดคือเยาวชนเด็กที่ยังไม่บรรนลุนิติภาวะ แล้วสังคมมีส่วนร่วมมีความคิดเห็นอย่างไร อย่างเช่นกรณีเด็ก 8 เดือนหายออกจากบ้าน ที่ทางมูลนิธิกระจกเงาถอดบทเรียนจากความในใจแม่ของเด็ก 8 เดือน ที่บอกว่าชีวิตไม่เหลือใครจริงๆ
เป็นอาชญากรหรือเหยื่อ ถ้าผู้กระทำผิดคือเยาว์วชน แล้วสังคมมีส่วนร่วมอย่างไร
ความในใจแม่ของเด็ก 8 เดือน ที่พูดกับมูลนิธิกระจกเงาที่ถูกถ่ายทอดมาให้ผู้คนได้รับรู้ที่บอกว่า ถ้าย้อนกลับไปในอดีตได้อยากไปแก้ไขอะไร ต้องบอกว่ามันทำอะไรไม่ได้แล้ว และวันนี้ก็คือวันที่รู้สึกไม่เหลือใครไม่เหลือใครจริงๆ นี่คือคำพูดของแม่วัยใสอายุ 17 ปี ที่ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านโซเชียลมีเดีย
ก่อนที่แม่วัยใสนั้นจะยอมรับสารภาพว่าเป็นคนที่ทิ้งลูกลงในแม่น้ำเองกับมือ นั่นจึงทำความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวในการพูดคุยครั้งนั้นได้รับความสนใจ และมีคนจำนวนมากเข้ามาแสดงความเห็นในหลากหลายมุม จนบ้างอาจลืมไปว่าหลายเคสที่สำคัญของเรื่องนี้ยังเป็นเด็กเกือบทั้งหมด
ตั้งต้นจากการตามหา ‘เด็กหาย’
ต้นต่อของเรื่องนี้มาจากการสืบการตามหาเด็กน้อยวัย 8 เดือน ที่หายตัวไปจากที่บ้านอย่างไม่ทราบสาเหตุและเบาะแสใดๆ น ดังนั้นจุดประสงค์อย่างแรกก็คือ การตามหาตัวเด็กที่หายส่งคืนครอบครัว เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่เติบโตมากับคำขู่ให้ระวังรถตู้จับเด็กเมื่อเราออกไปเล่นกับเพื่อนไกลๆบ้านแล้วกลับค่ำๆ
ส่วนสาเหตุนั้นมาจากเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา นั้นเป็นช่วงที่มีเด็กหลากหลายช่วงอายุวัยหายออกจากบ้านไปมากกว่า 400 คน ซึ่งมันคือจำนวนที่มากกว่าช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมา ที่มียอดเด็กหายไปประมาณ 200 คนต่อหนึ่งปี ส่วนอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เป็นอย่างหลังนั้นอาจเป็นเพราะว่าอัตราการเกิดนั้นลดน้อยลง แล้วสังคมคนแก่เพิ่มขึ้น
มันเลยส่งผลให้สถิติเด็กหายนั้นลดน้อยลงและสถิติคนแก่นั้นหายเพิ่มขึ้น จนวันเวลาเดินทางมาถึงปี 2022 มูลนิธิฯ ได้รับเรื่องว่ามีเด็กหายเพิ่มสูงขึ้งร้อยละ 25 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2021 โดยปัจจัยหลักร้อยละ 61 หรือ 161 คน เป็นเพราะเด็กเต็มใจที่จะหนีออกจากบ้านเอง ส่วนปัจจัยรองคือกลุ่มเด็กที่มีพัฒนาการช้ามีความพิการทางสติปัญญาหรือป่วยทางจิตเวช
ซึ่งปัจจัยดังกล่าวที่ว่ามานั้นล้วนแล้วแต่ทำให้เด็กนั้นเสี่ยงต่อการหายออกจากบ้านและถูกขโมยไปได้อย่าง่ายดาย ในส่วนของการทำงานตามหาเบาะแสของเด็กหาย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นจะการค้นหาแบบค้นหาตามสิ่งที่หายไป เช่น บางคนนั้นเล่นโซเชียลเจ้าหน้าที่ก็จะตามหาเบาะแสจากข้อมูลโซเชียลโดยหลีกเลี่ยงการเผยแพร่ข้อมูลทางออนไลน์
เพราะพวกเขานั้นยังคงต้องใช้ชีวิตกับโซเชียลมีเดียเพื่ออยู่ในสังคมต่อไปยาวๆ ทั้งด้านการเรียนหนังสือการทำงานและด้านอื่นๆ และถ้าข้อมูลดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปว่า เขาเคยมีพฤติกรรมดังกล่าวตอนวัยรุ่นจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น!! ไม่ต่างกันกับเคสการตามหาเด็กเล็ก เพื่อตามหาคืนเด็กคืนกลับเข้าสังคม ดังนั้นการคำนึงถึงบทสรุปของการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องมีการพิจารณาตามขึ้นตอนหลายอย่างเช่น
- ปัญหาแย่งสิทธิ์ปกครองบุตร
- อุบัติเหตุ
- ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
- การถูกลักพาตัวทั้งจากคนใกล้ชิด
- การถูกลักพาตัวจากคนภายนอก
เมื่อผู้กระทำผิดยังคงเป็นเด็ก
ต้องยอมรับว่าเคสที่เด็กเล็กหายเกือบทุกครั้งหลังจากเรื่องราวนั้นแจ้งกระจ้าง คนในครอบครัวนั้นมักจะเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาหรือผู้ประทำความผิดในคดีนั้นๆ แต่ก็ใช่ว่าเรื่องนี้สังคมจะตัดสินพวกเขาแทนเจ้าหน้าที่และผู้พิพากษา โดยเฉพาะผู้ต้องหาที่ยังอยู่ภายใต้การควบคุมที่เรียกว่า “เด็ก” อย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคดีเด็ก 8 เดือนหายไปในตอนนี้
แม่เด็ก 8 เดือนที่หายไปถือว่าเป็นความผิดปกติที่เจ้าหน้าที่กำลังจะอธิบายให้เราเข้าใจว่า ในช่วงเวลาที่ตามหาเบาะแสอยู่พ่อและแม่ของเด็กนั้นยังเป็นเยาวชนอยู่ทั้งสอง โดยเฉพาะคนเป็นแม่ที่เพิ่งจะมีอายุแค่ 17 ปี เท่านั้น ซึ่งในทางกฎหมายยังอยู่ภายใต้เส้นอายุ 18 ปีบริบูรณ์ที่แบ่งความเป็น “เด็ก”
ตลอดระยะเวลาเกือบหนึ่งเดือนที่ผ่านมาความจริงและเบาะแสของเด็กที่หายตัวไปยังไม่เผยออกมา กระทำความคิดความรู้สึกคำพูกของครอบครัวนี้เลยถูกเผยแพร่ออกมา ซึ่งบางส่วนก็ผิดหลักคุณธรรมของสังคม นั่นจึงยิ่งทำให้คำวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมโจมตีและถล่มเข้าหา แต่ในความเป็นจริงทางสืบสวนสามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้อยู่แล้ว
แต่ต้องเก็บทุกอย่างเอาไว้เป็นความลับเพื่อให้เห็นพฤติกรรมนิสัยและคำพูดผสมโรงกันไป แต่ไม่ใช่การเผยแพร่ที่ออกมาในรูปแบบประจาน ให้เขาต้องออกมาแก้ต่างเพื่อให้ตัวเองได้พูดผ่านสื่อมวลชน หนึ่งในข้อสังเกตที่เห็นได้ชัดที่สุดนั้นก็คือผล DNA ที่บอกว่าเด็กนั้นคือลูกของใครจริงๆ และในตอนนั้นพ่อแม่เด็กยังไม่ทราบผลด้วยตัวเอง
แต่ข้อมูลดังกล่าวนั้นพ่อและแม่ของเด็กนั้นรับรู้รับทราบมากจากสื่อ หลังจากสื่อได้ข้อมูลข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้มาจากผู้ที่ถือกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้ในทางสากลเขาไม่ทำกัน เพราะต่อให้คนในครอบครัวของเด็กนั้นจะทำผิดต่อด้านใดๆก็ตาม แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ไม่มีใครสามารถไปตัดสินเขาได้ ก่อนที่ศาลจะตัดสิน เพราะกฎหมายมีบทลงโทษอยู่แล้วแถมเขายังเป็น “เยาวชน”
ย้อนกลับไปดูคำพูดความในใจของแม่เด็กวัย 8 เดือนที่หายไปที่บอกว่ากับมูลนิธิกระจกเงาที่เธอนั้นได้พูดถึง เหตุการณ์ในชีวิตของเธอก่อนที่เธอนั้นจะกลายมาเป็นคนที่กระทำความผิด ว่าเธอนั้นเติบโตและใช้ชีวิตมาอย่างไร เช่น ที่บอกว่าเธอนั้นไม่เคยวาดฝันเลยว่าโตขึ้นมาอยากเป็นอะไรคิดแค่เพียงทำอะไรก็ได้ที่ทำให้มีเงินเลี้ยงชีวิตให้รอด
และความรู้สึกที่มีเกี่ยวกับครอบครัวถึงพ่อของเธอว่าเธอนั้นก็รักพ่อของเธอ เธอมีเรื่องหรือมีปัญหาก็จะเล่าให้พ่อฟัง แต่เธอนั้นไม่ชอบเวลาที่พ่อแม่ของเธอมีปัญหากัน หลังพ่อของเธอนั้นดื่มเหล้ามาแล้วโวยวาย เห็นเห็นพฤติกรรมแบบนี้มาตั้งแต่เด็กเธอร้องไห้ขอให้พ่อหยุดแต่พ่อก็ไม่หยุด
แน่นอนว่าคำพูดที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือไม่มากนั้นมันทำให้หลายๆคนนั้นเข้าใจว่า นี่คือการทำให้มองเห็นว่าเด็ก 17 ปี นั้นพบเจอกับปัญหาและเรื่องราวรเลวร้านความรุนแรงอะไรมาบ้าง จากครอบครัวเศรษฐกิจรวมไปจนถึงภาวะซึมเศร้าจากการเลี้ยงดูลูกเล็กในช่วงวัยที่ยังไม่พร้อม ซึ่งทั้งหมดยิ่งเพิ่มโอกาสของการกระทำผิดไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
และในวันนี้ก็ยังไม่สามารถตามหาตัวของเด็กวัย 8 เดือน กลับมาได้ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มี และทางพ่อที่เป็นคนเลี้ยงดูมาตั้งแต่เกิดนั้นก็ถูกดำเนินคดีในหลายข้อหาที่หนักหนาพอสมควร เพราะกระทำความผิดกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ส่วนพ่อที่แท้จริงนั้นก็ถูกจับมาดำเนินคดีพรากผู้เยาว์และกระทำชำเราเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เช่นกัน
เชื่อว่าหลายคนนั้นตั้งคำถามว่าทำไมแม่เด็กถึงเลือกเดินเส้นทางนั้น!? คำตอบนั้นดูได้จากความในใจที่เธอบอกว่าความสุขของเธอคือการเดินออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน ตั้งแต่ที่เธอมาอยู่กับสามีมาใช้ชีวิตเองเธอก็เหมือนได้มีหลักค้ำชีวิตได้ เพราะสามีคอยพูดให้เธอสบายใจเมื่อเธอมีเรื่องไม่สบายใจ นี่ทำให้เห็นว่าจะมีอะไรที่เด็กคนหนึ่งจะโหยหาไปกว่าคนที่จะยึดเหนี่ยวได้
และถ้าเรานั้นลองเปิดใจให้กว้างๆแล้วทำความเข้าใจว่าสภาพแวดล้อมที่เธออยู่นั้นเป็นอย่างไร เราจะเข้าใจว่าเธอนั้นคือ อาชญากร หรือ ผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อ คนหนึ่งในสังคมซึ่งความเป็นจริงแล้วเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องยืนยันว่าเธอนั้นคือเหยื่อคนหนึ่งที่ถูกทอดทิ้งจากระบบการศึกษาและจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดูแลเด็ก
แล้วพวกเรามีสิทธิ์อะไรที่จะไปเรียกร้องให้พวกเขาซื่อสัตย์ต่อสังคมในสถานการณ์ที่พวกเขานั้นถูกบีบคั้นแบบนั้น เช่นเดียวกันกับทัศนคติที่ผู้คนมักมอบหน้าที่เลี้ยงดูลูกให้กับผู้เป็นแม่แค่คนเดียว ที่ทำให้เห็นมุมมองผู้ชายเป็นใหญ่รวมไปถึงระบบการศึกษาที่ยังไม่สามารถเอื้อให้เด็กจากครอบครัวยากจน และกลุ่มที่ท้องในวัยเรียน ยังคงอยู่ในระบบการเรียนต่อไปได้
ถ้าเราลืมมองไปถึงความเหลื่อมล้ำด้านต่างๆ เราจะไม่มีทางแก้เรื่องพวกนี้ได้ โดยเฉพาะการโยนความผิดทั้งหมดให้เด็ก เนื่องจากว่าการรู้ข้อเท็จจริงที่รับรู้แค่เพียงหนึ่งด้านก็จะถูกตัดสิน และเอามาพูดอย่างเป็นเรื่องเคยชิน จนลืมไปว่าทุกคนมีเรื่องที่ไม่ดีแล้วเวลาเราเห็นด้านมืดคนอื่นเราก็จะซ่ำเติมทันที โดยไม่ได้มองสิ่งที่เขาต้องเจอมาในชีวิต
สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่นี่
สนับสนุนโดย
UFABET | UFA365 | UFABET เข้าสู่ระบบ | UFABET เว็บตรง | สล็อต เว็บตรง | SLOTXO | สล็อต | PG SLOT | สล็อต XO | สล็อต | JOKER123 | สล็อต เว็บตรง | สล็อตโจ๊กเกอร์